เมนู

เคเบิ้ลแกลน (Cable Gland) อุปกรณ์สำคัญ (แต่โดนมองข้าม) ในการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายนอกอาคาร

            การติตตั้งระบบไฟฟ้าภายนอกเป็นสิ่งที่ช่างไฟฟ้าอาจะต้องพบเจออยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคารไม่เพียงพอหรือไม่สะดวกต่อการใช้งาน แต่การติดตั้งนออาคารก็มีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะเรื่องของสภาพอากาศ แดด ลม ฝน ที่อาจทำให้ ความชื้น ความร้อน และฝุ่นละอองมารบกวนระบบไฟฟ้าได้ 

            ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้พักอาศัยและใช้ไฟฟ้า เคเบิ้ลแกลนจึงถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสายไฟและระบบไฟฟ้าภายนอกอาคารได้ เพราะช่วยให้สายไฟต่อกับตู้ได้แน่นหนาขึ้น ไม่หลุดหรือขยับ ป้องกันขอบตู้บาดสายไฟ รวมถึงป้องกันสายไฟจากน้ำฝนและฝุ่นละอองด้วย

            แต่ใช้เคเบิ้ลแกลนอย่างเดียวก็คงจะไม่พอ วันนี้ Sale’ “ซาเล่” จึงได้นำขั้นตอนและการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้าภายนอกอาคารมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ด้วย มีขั้นตอนดังนี้ครับ

1. วางแผน 
วางรูปแบบการเดินสายไฟและเตรียมอุปกรณ์  เพื่อที่จะกำหนดตำแหน่งของตัวกล่องพักสายไฟ (Junction Box)  หรือบล็อคกันน้ำ (Waterproof Enclosure Case)  ซึ่งตำแหน่งที่คุณเลือกควรเป็นจุดที่ปลอดภัย คือ ไม่ใช่บริเวณที่โดนแสงแดดส่องโดยตรงหรือบริเวณที่น้ำไหลผ่าน เพราะถึงแม้จะมีกล่องช่วยปกป้องอุปกรณ์ภายในไว้ แต่ถ้าโดนแดนหรือนำตลอดเวลาก็จะทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรติดตั้งเบรกเกอร์สำหรับตัดไฟในกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจรด้วย

2. เจาะรูกล่อง
หากกล่องที่เราใช้ไม่ได้เป็นแบบที่มีรูสำเร็จรูป ให้เจาะรูตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ โดยใช้ดอกเจาะโฮลซอว์ (Hole Saw) ตามขนาดรูที่ต้องการ (หรือใช้สว่านและใบเลื่อยฉลุก็ได้) เพื่อให้สายไฟลอดเข้าไปในตัวกล่องได้

3. ปิดแหล่งจ่ายไฟ
ก่อนทำการเดินสายไฟหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ เราควรทำการปิดแหล่งจ่ายไฟ ก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัย

4. ติดตั้งอุปกรณ์และเดินสายไฟ
ทำการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในกล่อง แล้วเดินสายไฟตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากสายไฟที่ใช้นอกตัวบ้านมีโอกาสชำรุดและเสียหายได้ง่ายกว่า วิธีที่ง่ายและปลอดภัยที่สุด นั่นก็คือ การเดินสายไฟด้วยอุปกรณ์ท่อร้อยสายไฟ (พลาสติก PVC) และการใช้สายไฟชนิดสายกลมแข็ง เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสายจากสภาพอากาศต่าง ๆ และยืดอายุการใช้งานของตัวสาย

5. ต่อเคเบิ้ลแกลน (Cable Gland)
ใช้เคเบิ้ลแกลนในการเชื่อมต่อและยึดสายไฟกับกล่องให้ถูกต้อง แน่นหนา ข้อนี้เป็นสิ่งที่ช่างไฟฟ้าหลาย ๆ คนมักจะละเลย และเป็นสาเหตุสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายไฟและระบบไฟฟ้าภายนอกอาคารได้

            ข้อดีของการใช้เคเบิ้ลแกลน (Cable Gland) ในการยึดสายไฟ คือ ช่วยให้การเชื่อมต่อปลอดภัย ป้องกันสายไฟหลุด ขยับ หรือขอบตู้บาดสายไฟ และที่สำคัญยังช่วยป้องกันน้ำหรือฝุ่นเข้าตู้ทางช่องต่อสายสายไฟ รวมถึงการกัดกร่อนจากเกลือ-กรด-ด่าง ดังนั้นนอกจากจะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังเหมาะสำหรับใช้ในงานไฟฟ้านอกอาคารด้วย

6. ปิดฝากล่อง
เมื่อเดินสายไฟเรียบร้อยแล้วให้เช็คความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการปิดฝากล่องและขันสกรูให้เรียบร้อยและครบทั้ง 4 ด้าน

            เป็นอย่างไรบ้างครับ ทราบกันแล้วใช่ไหมว่าขั้นตอนและการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานไฟฟ้านอกอาคารมีความสำคัญอย่างไร เพราะความปลอดภัยของผู้พักอาศัยและใช้ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้า เราจึงแนะนำให้คุณใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมและมีคุณภาพดีอยู่เสมอ

            สำหรับ เคเบิ้ลแกลน (Cable gland) ของ Sale’ “ซาเล่” จะมีเกลียวอยู่ 2 แบบ ก็คือ เกลียว M กับ เกลียว PG ผลิตจากพลาสติก จึงไม่มีปัญหาเรื่องสนิม แต่มีความแข็งแรง สามารถป้องกันสายไฟหลุดหรือขยับ ป้องกันขอบตู้บาดสายไฟ ป้องกันสเก็ตไฟ ความร้อน และการกัดกร่อนจากเกลือ-กรด-ด่าง รวมถึงป้องกันสายไฟจากสภาพอากาศทุกรูปแบบทั้ง น้ำฝนและฝุ่นละออง ได้รับรองมาตรฐาน CE (ยุโรป) และมาตรฐานกันน้ำและฝุ่น IP68 (มาตรฐานกันน้ำ) สามารถใช้งานได้ดีทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและงานภายนอกอาคาร

© 2020 Sale’ All Rights Reserved