เมนู

หัวหมวกต่อสาย-Close End Wire Connector ใช้งานแตกต่างจากอุปกรณ์ต่อไฟฟ้าอื่น ๆ อย่างไร?

สิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มเป็นช่างไฟฟ้าควรจะต้องเรียนรู้ คือ วิธีการต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกันให้แน่นและแข็งแรง วันนี้ Sale’ “ซาเล่” จึงนำวิธีการต่อสายไฟด้วยอุปกรณ์แบบต่าง ๆ มาฝากกัน

สายไฟเป็นสื่อกลางในการเดินทางของกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ สายไฟประกอบด้วยตัวนำไฟฟ้าที่อยู่ภายใน (มักจะเป็นลวดโลหะที่กระแสไฟฟ้าสามารถส่งผ่านได้ดี) และฉนวนไฟฟ้าที่อยู่หุ้มอยู่ภายนอกเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหล ซึ่งสายไฟในแต่ละขนาดถูกออกแบบให้นำกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดโดยไม่ทำให้ฉนวนของสายได้รับความเสียหาย 

แต่การต่อสายไฟจำเป็นต้องปอกสายไฟหรือก็คือการนำฉนวนบางส่วนออก เพื่อสามารถนำลวดโลหะมาต่อกันได้ จุดเชื่อมต่อสายไฟจึงเป็นจุดที่อ่อนแอและมักจะก่อความยุ่งยากในระบบไฟฟ้า ดังนั้นเราจึงต้องต่อสายไฟอย่างระมัดระวังและแน่นหนา (ถ้าตีเกลียวหลวมไปจะนำกระแสไฟฟ้าได้ไม่ดี ทำให้เกิดความร้อนขึ้นเนื่องจากความต้านทานของรอยต่อ และอาจสร้างความเสียหายขึ้นได้) แล้วจึงเลือกใช้อุปกรณ์ต่อสายไฟที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละครั้ง

1. เทปสำหรับพันสาย (Vinyl Electrical Tape)
เป็นวิธีการต่อสายไฟปกติที่เราเห็นกันมาช้านาน หลังจากที่ทำการต่อสายไฟโดยการเอาปลายทั้งสองบิดเข้าหากันเป็นเกลียวแล้ว ก็ใช้เทปพันสายไฟบริเวณรอยต่อให้แน่นหนา ถือเป็นวิธีพื้นฐานที่สะดวกรวดเร็วและประหยัดที่สุดในการต่อสายไฟ 

แต่การพันสายเข้าด้วยกันโดยตรงเป็นวิธีชั่วคราวในการต่อสายไฟเท่านั้น เพราะถ้าหากใช้ไปนาน ๆ ก็อาจเกิดความร้อนและมีกาวหรือวัสดุของตัวเทปไหลเยิ้มออกมา นอกจากจะดูไม่เรียบร้อยแล้ว ยังไม่สามารถถอดหรือปรับเปลี่ยนสายไฟที่ต่อไปแล้วได้ ดังนั้นในปัจจุบันช่างส่วนใหญ่จึงมักใช้อุปกรณ์ต่อสายไฟชนิดใหม่ ๆ ที่มีเปลือกเป็นฉนวนหนากว่า เพื่อความปลอดภัย แข็งแรงทนทาน และเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

2. ไวร์นัท (Wire Nut) 
เป็นหัวพลาสติกรูปถ้วย ภายในสปริงก้นหอย ซึ่งจะรัดตัวอยู่กับสายไฟตลอดเวลา  ทำให้ผิวสัมผัสมากกว่า กระแสไฟไหลผ่านได้มากกว่าเทป ไวร์นัทมีหลายขนาด ต้องใช้ขนาดให้ถูกต้อง หากใช้หลวมไปจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยและเสถียรภาพของการต่อ โดยเวลาต่อให้นำสายไฟตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป (แล้วแต่ขนาดสาย) มาบิดสายเข้าหากันเป็นเปียเกลียวให้แน่น แล้วสวมหมุนไวร์นัทเข้าไป (อาจพันเทปทับอีกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย)

3. เต๋าต่อสายไฟ (Terminal Block)
มีลักษณะเป็นกล่องสีเหลี่ยมเล็ก ๆ มาเรียงต่อกัน สำหรับสอดลวดโลหะเข้าไป แล้วขันสกรูเพื่อบีบสายไฟให้แน่น ข้อดีของเต๋าต่อสายคือสะดวกรวดเร็วและติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับสายไฟขนาดเล็ก แต่เต๋าต่อสายไฟมีหลายเกรด หาใช้แบบที่คุณภาพไม่ดี เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจเจอปัญหา ตัวเต๋าที่เป็นพลาสติกอาจเสื่อมสภาพเร็ว หรือ มีปัญหาน๊อตคลายตัวได้ ถ้าใช้ในระยะยาว ควรใช้เป็นเต๋าต่อสายไฟแบบเซรามิก

4. สลีฟต่อสายไฟ (Sleeve)
มีลักษณะเป็นท่อโลหะขนาดเล็ก อาจยุ่งยากกว่าวิธีอื่นเล็กน้อย เพราะเมื่อปอกสายทั้ง 2 เส้น และนำเอาสายเสียบเข้าสลีฟต่อสายไฟทั้งสองด้านแล้ว ต้องใช้คีมย้ำบีบให้แน่น แล้วสุดท้ายก็ต้องใช้เทปสำหรับพันสายไฟ หรือท่อหดหุ้มทับรอยต่อบริเวณสลีฟเป็นฉนวนอีกครั้ง แต่ปัจจุบันก็มีสลีฟต่อสายไฟบางรุ่นที่มีท่อหดในตัวแล้ว

5. หัวหมวกต่อสายไฟ (Close End Wire Connector)
มีลักษณะเป็นหัวพลาสติกรูปถ้วยคล้ายไวร์นัท แต่ตัวพลาสติกของหัวหมวกต่อสายจะใสกว่าและมีความยืดหยุน มีท่อโลหะอยู่ภายในคล้ายกับสลีฟ วิธีใช้ให้นำลวดทองแดงของสายที่จะต่อมาบิดเข้าหากันเป็นเปียเกลียวแล้วสอดเข้าไปในหัวหมวก จากนั้นใช้คีมย้ำบีบท่อโลหะให้แน่นก็เสร็จเรียบร้อย ไม่ต้องใช้เทปพันสายไฟ หรือท่อหดหุ้มทับอีก เพราะมีตัวหัวหมวกเป็นฉนวนอยู่แล้ว (ควรเลือกหัวคีมย้ำที่เป็นลักษณะบีบกดเพื่อไม่ทำลายฉนวน) จึงถือว่าเป็นวิธีการต่อสายไฟที่สะดวกรวดเร็วและต่อได้แน่นที่สุด ในกรณีที่ใช้ภายนอกอาคารที่อาจมีความชื่นสามารถหยอดกาวซีลีโคน ลงในหัวหมวกหลังจากต่อสายไฟเสร็จเพื่อกันความชื้น เพิ่มความปลอดภัยได้

สำหรับ หัวหมวกต่อสายไฟ (Close End Wire Connector) ของ Sale’ “ซาเล่” ผลิตจากไนลอน 66 มีความแข็งแรงทนทานและยืดหยุ่นสูง สามารถใช้คีมย้ำหัวพลาสติกได้เลย โดยไม่ทำให้ฉนวนเสียหาย ผลิตจากโรงงานที่มีคุณภาพ ได้รับรองมาตรฐานการผลิต SA 8000 และ CQC (จีน) และมาตรฐานความปลอดภัย : UL (สหรัฐอเมริกา) REACH (ยุโรป) ทำให้วางใจได้ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย มีขนาดที่รองรับการใช้งานกับสายไฟที่หลากหลาย ตั้งแต่ 1.5 - 8 mm² สามารถหาซื้อได้ในร้านไฟฟ้าชั้นนำทั่วประเทศ
 

© 2020 Sale’ All Rights Reserved